เรื่องของปลวก(2) ปลวกสืบพันธ์ สื่อสารกันยังไง ชนิดปลวกในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

Last updated: 8 ก.ค. 2563  |  3434 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรื่องของปลวก(2) ปลวกสืบพันธ์ สื่อสารกันยังไง ชนิดปลวกในประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

มาเรียนรู้เรื่องปลวกกันต่อในหัวข้อ "ปลวกสืบพันธ์ สื่อสารกันยังไง ชนิดปลวกในประเทศไทยมีอะไรบ้าง" กันครับ
ใครยังไม่ได้อ่านเรื่องของปลวกตอนที่ 1 สามารถอ่านได้ที่นี่ครับ
คลิก


การสืบพันธ์


เมื่อถึงเวลาผสมพันธ์มาถึงแมลงเม่าจะบินออกจากรัง ตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่กันและหาที่ที่เหมาะสมกับการสร้างรังใหม่ ปลวกราชาและราชินีจะไม่ผสมพันธ์กันจนกว่าจะเจอที่สร้างรังที่เหมาะสม เมื่อเจอแล้วพวกมันจะขุดโพรงขนาดใหญ่พอสำหรับทั้งคู่ ปิดทางเข้า แล้วจึงสืบพันธ์ หลังจากสืบพันธ์ปลวกทั้งคู่จะไม่ออกไปข้างนอกตลอดชีวิต ช่วงเวลาผสมพันธ์ของปลวกนั้นขึ้นอยู่กับแตกต่างกันในแต่ละสปีชีส์

ราชินีจะวางไข่ครั้งละ 10-20 ฟองในช่วงแรกของรัง แต่อาจจะวางไข่ได้มากถึงวันละ 1000 ฟอง เมื่อมีอายุหลายปี ในบางสปีชีส์ราชินีปลวกจะมีส่วนท้องที่ขยายใหญ่ยากมากเพื่อที่จะได้วางไข่ได้มากขึ้นถึงวันละ 40000 ฟองต่อวัน การที่ส่วนท้องขยายตัวเป็นหลายเท่าของขนาดตัวปกตินั้นทำให้ราชินีปลวกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากพวกปลวกงาน
"นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่า หากเรากำจัดปลวกงานที่บุกรุกบ้านของเราได้ ก็เท่ากับว่าเราจัดการราชินีได้ด้วย"


 

การสื่อสาร

ปลวกส่วนใหญ่นั้นตาบอด พวกมันจึงสื่อสารกันผ่านสารเคมี การสัมผัส และ ฟีโรโมน วิธีการสื่อสารเหล่านี้ถูกใช้ในหลายกิจกรรมตั้งแต่การหาอาหาร หาคุ่ผสมพันธ์ สร้างรัง จดจำสมาชิกในรัง ค้นหาต่อสู้ศัตรู และป้องกันรัง โดยวิธีการทั่วไปคือการใช้หนวด
สำหรับฟีโรโมนที่ใช้นั้นมีหลายแบบ ได้แก่ ฟีโรโมนสัมผัสที่ช่วยในการจดจำเพื่อนร่วมรัง ฟีโรโมนระวังภัย ฟีโรโมนหาเส้นทาง และฟีโรโมนเพศ โดยฟีโรโมนป้องกันตัวนั้นจะหลั่งจากต่อมด้านหน้าในขณะที่ฟีโรโมนหาเส้นทางและฟีโรโมนจะหลั่งจากต่อมที่ก้น เมื่อปลวกออกหาอาหารมันจะทิ้งฟีโรโมนไว้ตามทาง ซึ่งปลวกงานตัวอื่นจะตรวจจับได้ผ่านตัวรับกลิ่น ปลวกยังสามารถสื่อสารกันผ่านการสัมผัสและการสั่นสะเทือน ซึ่งมักจะใช้ในการเตือนหรือตรวจสอบแหล่งอาหาร 



ปลวกในประเทศไทย

ปลวกส่วนใหญ่ที่เราพบได้บ่อยในประเทศมีดังนี้

1) Coptotermes spp.

มากกว่า 80% ที่เราพบในบ้านคือสปีชีส์นี้นี่เอง


2) Microcerotermes spp.

3) Globitermes spp.
เราจะพบเห็นสปีชีส์นี้ได้บ่อย ๆ ในสวน มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือตัวจะมีสีเหลืองเด่นชัด หลายคนจึงเรียกว่า “ปลวกเหลือง”


4) Nasutitermes spp.

5) Odontotermes spp.

6) Macrotermes spp.


หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนรู้จัก "ปลวก" มากขึ้นนะครับ
ติดตามเรื่องราวของปลวก แมลง และสัตว์รบกวนอื่น ๆ ได้ประจำที่เว็บไซต์นี้นะครับ
เราจะมีข้อมูลใหม่ ๆ มาอัพเดตอยู่เรื่อย ๆครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้