เรื่องของปลวก (1) มารู้จักปลวกให้มากขึ้นกันเถอะ

Last updated: 8 ก.ค. 2563  |  11922 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรื่องของปลวก (1) มารู้จักปลวกให้มากขึ้นกันเถอะ


มาทำความรู้จักกับปลวก แมลงตัวจิ๋วที่มีความน่าสนใจและเต็มไปด้วยเรื่องชวน Amazing ชนิดหนึ่งกัน

1. ลักษณะ

ปลวกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ความยาวระหว่าง 4 ถึง 15 มิลลิเมตรเท่านั้น มีหนวดลักษณะคล้ายสร้อยลูกปัด มีหน้าที่หลายอย่างเช่น รับรู้การสัมผัส, รสชาติ, กลิ่น, ความร้อน และการสั่นสะเทือน ส่วนอกของปลวกแบ่งเป็นสามปล้องเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น แต่ละส่วนมีขาหนึ่งคู่ ในแมลงเม่าปีกจะอยู่ที่ปล้องที่สองและปล้องที่สามซึ่งมีเกราะแข็งที่พัฒนาเต็มที่ ในขณะที่ปล้องแรกนั้นมีเกราะขนาดเล็กกว่า โดยปีกหน้าและปีกหลังของแมลงเม่ามีขนาดเท่ากันซึ่งต่างจากพวกมด และความแตกต่างระหว่างมดกับปลวกอีกส่วนหนึ่งก็คือ เอว  มดจะมีเอวที่คอดกิ่ว ส่วนปลวกท้องกับตัวจะต่อกันไม่เห็นเอวชัดเจนเหมือนของมด



2. วรรณะของปลวก

วรรณะแรงงาน
มีหน้าที่เป็นแรงงานส่วนใหญ่ภายในรัง มีหน้าที่หาอาหาร เก็บอาหาร ทำความสะอาด ดูแลไข่ ซ่อมแซมรัง ปลวกงานยังมีหน้าที่ย่อยเซลลูโลสในอาหาร ปลวกที่กัดกินไม้ในบ้านเราก็คือกลุ่มนี้นี่เอง และหลังออกหาอาหารปลวกงานจะนำอาหารที่ย่อยแล้วไปป้อนปลวกตัวอื่นในรัง ทั้งปลวกทหาร ปลวกราชาและราชินี นี่จึงทำให้ราชินีปลวกมีหน้าที่ผลิตประชากรเพิ่มเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องออกหาอาหารเอง

วรรณะทหาร
จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและพฤติกรรมไปเฉพาะทาง หน้าที่ของวรรณะนี่คือเพื่อปกป้องรังเท่านั้น ปลวกทหารมีหัวขนาดใหญ่ มีขากรรไกรอันทรงพลังที่ใหญ่มากจนมันไม่สามารถกินอาหารเองได้ มันจึงต้องอาศัยปลวกงานคอยป้อนอาหาร ปลวกทหารในสปีชีส์ Coptotermes ยังสามารถล่อยสารเหนียวป้องกันศัตรูได้ด้วย

วรรณะสืบพันธ์
วรรณะสืบพันธ์ของรังประกอบด้วยตัวผู้และตัวเมียที่เจริญพันธ์เรียกว่าราชาและราชินีปลวก ราชินีปลวกมีหน้าที่ในการผลิตไข่สำหรับสืบพันธ์ ราชาปลวกจะผสมพันธ์กับราชินีตลอดทั้งชีวิตของมัน ซึ่งต่างจากมดที่ตัวผู้จะผสมพันธ์แค่ครั้งเดียว ในบางสปีชีส์ส่วนท้องของราชินีปลวกขยายขนาดใหญ่มากเพื่อเพิ่มความความสามาถในการขยายพันธ์  ราชินีจะผลิตแมลงเม่าเป็นเวลาประจำในแต่ละปี และจะบินออกไปเป็นฝูงใหญ่เมื่อถึงเวลาผสมพันธ์

“เมื่อเข้าใจชีววิทยาในส่วนของวรรณะปลวกแล้วเราจะสังเกตได้ว่า ในการป้องกันกำจัดปลวกหากเราสามารถจัดการปลวกงานที่เป็นเหมือนตัวหล่อเลี้ยงทั้งรังได้แล้ว ก็เท่ากับเราสามารถจัดการปลวกได้ทั้งรัง”




3. อาหาร
ปลวกเป็นผู้ย่อยสลายที่บริโภคซากพืชในทุกระยะของการย่อยสลาย พวกมันยังมีบทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศน์โดยการรีไซเคิลวัสดุจำพวกซากไม้, มูล และพืชหลายสปีชีส์ โดยมีระบบย่อยอาหารพิเศษที่สามารถย่อยเส้นใยอาหารได้ ปลวกถือเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของแก็สมีเทนในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นหนึ่งในแก็สเรือนกระจกจากการย่อยเซลลูโลส ปลวกพึ่งพาอาศัยโปรโตซัวและจุลชีพอื่น ๆ ที่อยู่ในกระเพาะในการย่อยเซลลูโลสให้พวกมัน และดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อยโปรโตซัว โดยในปลวกทุกสปีชีส์จะมีการป้อนอาหารที่ย่อยแล้วให้กันและกันจากปลากหรือรูทวาร

บางสปีชีส์มีการเพาะเลี้ยงเชื้อราในรังของพวกมัน ซึ่งจะได้สารอาหารจากมูลของพวกปลวก เมื่อรานี้ถูกกิน สปอร์ของมันจะคงสภาพอยู่ในระบบย่อยอาหารของปลวกสามารถที่จะสืบพันธ์ต่อในมูลสดของปลวกได้

นี่คือ "เรื่องของปลวก" บางส่วน สนใจเรื่องราวความมหัศจรรย์ของปลวกติดตามอ่านได้ที่ เรื่องของปลวกตอนที่ 2 นะครับ

การเรียนรู้ข้อมูลชีววิทยาของปลวก
จะช่วยให้เราเข้าใจและสามารถออกแบบ/เลือกวิธี ในการควบคุม ป้องกัน กำจัดปลวก ได้อย่างถูกต้อง ตรงจุดมากขึ้นครับ




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้