งานบริการควบคุม ป้องกัน และกำจัดแมลงสาบ

Last updated: 8 ก.ค. 2563  |  5244 จำนวนผู้เข้าชม  | 

งานบริการควบคุม ป้องกัน และกำจัดแมลงสาบ

          แมลงสาบ : ตัวการสำคัญในการแพร่เชื้อโรค

          แมลงสาบเป็นแมลงที่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี พวกมันมีถึงกว่า 3,500 ชนิด โดยทั่วไปแมลงสาบจะชอบอากาศอุ่น อับชื้น ใกล้แหล่งอาหาร เช่น ห้องครัวและห้องน้ำ มันจะชุมนุมตามรอยแตกแยกของพื้นผิวต่างๆ และท่อระบายน้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน
                        
                 

          วงจรชีวิตของแมลงสาบระกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg) ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) และตัวเต็มวัย (adult) แมลงสาบวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง จะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกันไปไม่แน่นนอน แล้วแต่ชนิดของแมลงสาบ

 

          แมลงสาบบางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำตัว แต่บางชนิด อาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศก็ได้ ลักษณะการวางไข่ของแมลงสาบแตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จำนวนไข่ในแต่ละกระเปาะ จะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของแมลงสาบด้วย ทั่วไปจะมีประมาณ 16/18 ฟอง อาจจะวางได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-6 ชุด แต่บางชนิดอาจวางมากถึง 90 ชุด ก็ได้ อายุของไข่จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น ไข่จะฟักได้เร็วในที่ๆมีอุณหภูมิสูง ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีสีขาวและไม่มีปีก เมื่อมีอายุได้ 3-4สัปดาห์ จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย   แมลงสาบที่มีปีกเกิดขึ้นมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆอยู่ทางด้านข้างของอกปล้องที่ 2 และ 3 และจะค่อยๆ มีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเจริญเต็มที่เมือเป็นตัวเต็มวัยแม้จะเป็นตัวเต็มวัย บางชนิดก็ไม่มีปีกเลย เมื่อเจริญ เป็นตัวเต็มวัยจะมีการผสมพันธ ุ์และการวางไข่เกิดขึ้น หลังจากวางไข่หมดก็จะมีอายุต่อไปได้อีกหลายวัน

 
                     
                 


          ความเสียหายจากปัญหา : แมลงสาบ

          เนื่องจากแมลงสาบอาศัยอยู่ในแหล่งสกปรก กองขยะ ท่อน้ำ เมื่อมันวิ่งผ่านหรือไต่ตามภาชนะ หรืออาหาร ที่วางไว้มันก็จะทิ้งความสกปรก อันจะนำมาซึ่งโรคร้ายต่างๆ และแต่ละโรคที่มีแมลงสาบเป็นพาหะนำมา ล้วนแต่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาทิเช่น โรคบิด โรคคอตีบ  โรคไทฟอยด์ โรคตับอักเสบ และโรคการเพาะอาหารลำไส้อักเสบ

                 

          วิธีป้องกันและแก้ปัญหา : แมลงสาบ

1.การใช้เหยื่อกำจัดในบริเวณแพร่ระบาด (Baiting System)

2.การใช้สารเคมีผงเพื่อหยุดการลอกคราบ (Powder System)

3.การสเปรย์น้ำยา/สารเคมีที่มีฤทธิ์ตกค้าง (Residue Chemical Spraying)

                 

          มาตรฐานการทำบริการ : แมลงสาบ

          สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาก่อนการทำบริการ ฉีดพ่นน้ำยาเคมีภายในและ รอบนอกอาคาร โดยเน้นแหล่งหลบซ่อนที่พบตัว แหล่งอาหาร บริเวณที่สำรวจพบร่องรอย ที่เกิดจากแมลงสาบ โรย / ใส่ยาผงเคมีสำเร็จรูปในแหล่งที่ฉีดพ่นยาน้ำไม่ได้ หรือ ฉีดพ่นได้ไม่ทั่วถึง

          ใส่เหยื่อแมลงสาบชนิดเจล (GEL) ตามบริเวณที่เหมาะสม และตามอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ วาง / โรย เหยื่อแมลงสาบชนิดเม็ด ในบริเวณที่เหมาะสม หรือ บริเวณที่ฉีดพ่นยาน้ำ ยาผงไม่ได้  ตรวจเช็ค / ติดตามผล และทำบริการอย่างต่อเนื่อง

          ขอความร่วมมือในการเข้าบริการ เพราะการฉีดพ่นแมลงสาบจะต้องทำอย่างละเอียดถี่ถ้วนทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ที่เป็นแหล่งหลบซ่อน หรือ  พักอาศัยของแมลงสาบ บริเวณปิดล็อคที่ฉีดพ่นหรือทำบริการไม่ได้ จะเป็นจุดแพร่ระบาดของแมลงสาบทำให้การควบคุมไม่ได้ผล

           คำแนะนำในเรื่องสุขาภิบาล หรือการดูแลรักษาความสะอาดของอาคารสถานที่ ซึ่งเป็นมาตรการในการลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย และน้ำ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้